สิ่งที่เรียนรู้
การใช้ทรายสีแทนการระบายสี
การใช้ทรายสีแทนการระบายสี |
ศิลปะสร้างสรรค์ประเภทนี้คุณครูจะมีภาพให้ ติดด้วยกาวสองหน้าเเบบบาง เมื่อเริ่มทำกิจกรรมเด็กๆ จะลอกเทปกาวออก แล้วเอาทรายสีโรยติด ใช้มือเกลี่ยให้ทั่ว เททรายสีส่วนเกินกลับคืน ทำแบบนี้ไปทีละช่องจนครบ
ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เช่นนี้เป็นการจัดกิจกรรมที่ดี สลับกับการใช้สีไม้ หรือสีเทียน เป็นกิจกรรมที่หลากหลาย เพราะการใช้ทรายสีทำให้เด็กฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ส่งเสริมความแข็งแรงของนิ้วมือ และเด็กเองรู้สึกชอบ อยากที่จะโรยสี ซึ่งสังเกตได้จากการทำกิจกกรมของเด็กเอง ที่ต้องใจเททรายสีลงในเเต่ละช่องอย่างสวยงาม
ทฤษฎี/แนวคิดที่เกี่ยวข้อง
การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาเด็กนั้นผู้จัดกิจกรรมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดกิจกรรม ต้องมีการศึกษาทดลองและพัฒนากิจกรรมอย่างเป็นระบบ เด็กปฐมวัยเป็นเด็กในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่พัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์กำลังเจริญเติบโตจึงต้องการการส่งเสริมด้วยกิจกรรมศิลปะที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างเข้าใจและยั่งยืน กิจกรรมศิลปะที่มีรากฐานมาจากความคิดที่หลากหลายและผ่านการทดลองอย่างเป็นระบบจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อเด็กเป็นอย่างมาก เสรีภาพทางความคิดและการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะตามความต้องการของผู้เรียนเป็นการสร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ที่ครูศิลปะจะต้องจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน เพราะการที่เด็กแสดงออกได้มากเท่าไร นั่นย่อมหมายความว่า เขาได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาได้มากเท่านั้น และนั่นย่อมหมายถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อปัญหาเดิมได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้ว และนั่นยอมหมายถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อปัญหาเดิมได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้ว เด็กอาจยุ่งยากใจกับการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงแต่ในโลกแห่งศิลปะ เขามีวิธีการในการเข้าไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาเสมอถ้าครูหรือผู้ปกครองไม่เข้าไปแย่งชิงช่วงเวลาอันมีคุณค่าของการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ตามเสรีภาพของเด็กด้วยความหวังดีที่ขาดความเข้าใจ
ที่มา : http://etcserv.pnru.ac.th/kmpnru/index.php?module=knowledge/
เสนอเเนวทางปฎิบัติจากความรู้ใหม่
ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการวาดภาพระบายสี ควรสลับไปมาระหว่างใช้ทรายสีกับการใช้สีไม้ หรือสีเทียน เพราะจะทำให้เด็กไม่เบื่อหน่ายต่อกิจกรรมนั้นๆ และเป็นการเตรียมพร้อมความแข็งแรงของนิ้วมือไปสู่ระดับชั้นต่อๆไป การจัดกิจกรรมถือเป็นกระบวนการให้เด็กได้เรียนรู้ที่สำคัญประการหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น